Thanachart One Report 2021 - TH

1.2 ความเสี่ยงจากการด้อยคุณภาพของสินเชื่อ สินเชื่อด้อยคุณภาพ ได้แก่ สินเชื่อจัดชั้นต�่ ำกว่ามาตรฐาน สงสัย และสงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของแต่ละกลุ่มธุรกิจการเงิน เพราะส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุน ซึ่งบริษัทฯและ บริษัทย่อยได้ให้ความส� ำคัญ และพยายามควบคุมคุณภาพ ของสินเชื่อด้วยการก� ำหนดนโยบายและขั้นตอนในการติดตาม คุณภาพของสินเชื่ออย่างสม�่ ำเสมอ 1.3 ความเสี่ยงจากหลักประกัน ส� ำหรับการให้สินเชื่อที่มีหลักประกัน บริษัทฯและบริษัทย่อย ก� ำหนดให้มีการวิเคราะห์หลักประกันแต่ละประเภท โดย พิจารณาถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงของหลักประกันนั้น ทั้งนี้ หลักประกันดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์จะมีการประเมินมูลค่าโดยการประเมินราคา หรือตีราคาหลักประกันตามหลักเกณฑ์ที่ก� ำหนดไว้ โดย ประเภทของหลักประกันที่ส� ำคัญของบริษัทฯและบริษัทย่อย ได้แก่ หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด อสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ เครื่องจักร เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยก� ำหนดแนวทาง มาตรฐานและความถี่ในการประเมินราคาและตีราคาหลักประกัน แต่ละประเภท รวมทั้งก� ำหนดให้มีการจัดท� ำรายงานการ ประเมินราคาและตีราคาที่มีข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ชัดเจน และเพียงพอต่อการตัดสินใจก� ำหนดราคา ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ ว่ามูลค่าของหลักประกันนั้นลดลง หรือมีการเสื่อมราคาตาม อายุการใช้งาน จะต้องมีการพิจารณาการด้อยค่าของสินทรัพย์ ที่เป็นหลักประกันโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 1.4 ความเสี่ยงจากการด้อยค่าของทรัพย์สินรอการขาย บริษัทฯและบริษัทย่อยมีการพิจารณาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่า ของทรัพย์สินรอการขายโดยใช้หลักเกณฑ์การตั้งค่าเผื่อการ ด้อยค่า ประกอบกับการใช้ดุลยพินิจในการประมาณการ ผลขาดทุนจากการด้อยค่า เมื่อพบว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ของทรัพย์สินมีมูลค่าลดลงกว่ามูลค่าตามบัญชี ซึ่งพิจารณา จากราคาประเมินล่าสุดของทรัพย์สิน ประเภท และคุณลักษณะ ของทรัพย์สิน 2. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเคลื่อนไหว ของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และราคา ตราสารในตลาดเงินตลาดทุนที่มีผลกระทบในทางลบต่อรายได้ และเงินกองทุนของบริษัทฯและบริษัทย่อย โดยแบ่งออกเป็น ความเสี่ยงหลัก ๆ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านราคาและความเสี่ยง ด้านอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีนโยบายในการ ควบคุมและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นไป ตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯและบริษัทย่อย 2.1 ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk) เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สิน ทางการเงินได้รับผลกระทบในทางลบ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของราคาตราสารหนี้และตราสารทุน ท� ำให้มูลค่าของเงินลงทุน ของบริษัทฯและบริษัทย่อยปรับลดลง บริษัทฯและบริษัทย่อยได้พัฒนาเครื่องมือในการวัดความเสี่ยง โดยใช้แบบจ� ำลองของ Value-at-Risk (VaR Model) เพื่อวัดผล ขาดทุนสูงสุดณ ระดับความเชื่อมั่นหนึ่ง ๆ หากถือครองหลักทรัพย์ ในช่วงระยะเวลาที่ก� ำหนด นอกจากนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อย มีการก� ำหนดเพดานต่าง ๆ ในการท� ำธุรกรรมเพื่อควบคุม ความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้ เช่น Position Limit และ Loss Limit เป็นต้น โดยมีหน่วยงานควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Unit) ซึ่งแยกออกจากหน่วยงานที่ท� ำธุรกรรม (Front Office) และหน่วยงานที่บันทึกรายการ (Back Office) ท� ำหน้าที่ควบคุมความเสี่ยงและรายงานสถานะเพดาน ความเสี่ยงต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการ หน่วยงานหรือผู้บริหาร ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสามารถบริหารความเสี่ยงได้ทันท่วงที บริษัทฯและบริษัทย่อยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารเป็น ผู้ควบคุมและติดตามความเสี่ยงด้านนี้ 2.2 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) เป็นความเสี่ยงที่รายได้หรือเงินกองทุนได้รับผลกระทบ ในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน และรายการนอกงบดุลทั้งหมดที่มีความอ่อนไหว ต่ออัตราดอกเบี้ย (Rate Sensitive Items) ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Income) และเงินกองทุน ของบริษัทฯและบริษัทย่อย บริษัทฯและบริษัทย่อยมีเป้าหมายที่จะด� ำเนินงานภายใต้ ระบบบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีประสิทธิภาพ ระยะยาว คือ สามารถรักษาระดับความสัมพันธ์ของสัดส่วน โครงสร้างของสินทรัพย์และหนี้สินที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะส� ำหรับการด� ำเนินงาน และให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น บริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดความเสี่ยงด้าน อัตราดอกเบี้ยเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากความเหลื่อมล�้ ำระหว่างระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลง 62

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3