Thanachart One Report 2021 - TH

• การด� ำเนินงานต่าง ๆ อยู่ภายใต้โครงสร้างองค์กรที่มี การสอบทานและถ่วงดุลอ� ำนาจ (Check and Balance) มีหน่วยงานที่ท� ำหน้าที่ควบคุมติดตามความเสี่ยง (Middle Office) ได้แก่ หน่วยงานควบคุมความเสี่ยง (Risk Control Unit) และหน่วยงานที่บันทึกรายการ (Back Office) แยกออกจากหน่วยงานที่ท� ำธุรกรรม (Front Office) • บริษัทฯ ก� ำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยง อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้ก� ำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ พนักงานได้ถือปฏิบัติตาม และยังได้ก� ำหนดกระบวนการ บริหารความเสี่ยงที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุถึงลักษณะของความเสี่ยงและปัจจัย ความเสี่ยง 2) การพัฒนาเครื่องมือและแบบจ� ำลอง (Model) ที่เหมาะสมส� ำหรับวัดค่าความเสี่ยง และการ ประเมินความเสี่ยง 3) การควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับ ที่ยอมรับได้ และ 4) การติดตามสถานะความเสี่ยงเพื่อ จัดการความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น • การก� ำหนดขนาดและสัดส่วนตามค่าความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยเครื่องมือที่ใช้วัดความเสี่ยงหรือแบบจ� ำลอง ท� ำให้ บริษัทฯ สามารถรับรู้ถึงระดับความรุนแรงของความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อใช้เป็นเพดานในการควบคุมค่า ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ และใช้เป็นระดับสัญญาณ เตือนภัยก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรง • มีการรายงานการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการ บริษัทของแต่ละบริษัทย่อยที่ส� ำคัญ และสรุปภาพรวม ความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจ� ำ ตามงวดเวลาที่ก� ำหนด ระบบการบริหารความเสี่ยงข้างต้นมีการพัฒนาขึ้นบนพื้นฐาน ของหลักความระมัดระวัง มีการปรับปรุงให้เหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ มีความโปร่งใส ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ และมีการค� ำนึงถึง ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงานเป็นส� ำคัญ ปัจจัยความเสี่ยงต่อการด� ำเนินธุรกิจของบริษัท ความเสี่ยงต่อการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อย มีดังนี้ 1. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ หรือคู่สัญญาไม่สามารถช� ำระหนี้ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ โดยอาจเกิดจากการประสบปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ จากความ ผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ความผิดพลาด ในการบริหารจัดการของลูกหนี้ ที่อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และเงินกองทุนของบริษัทฯและบริษัทย่อย ความเสี่ยงดังกล่าว อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากการท� ำธุรกรรมทางการเงินโดยปกติ เช่น การให้กู้ยืมหรือให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพันหรือการค�้ ำประกัน ธุรกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้เครดิต และการลงทุนในหลักทรัพย์ ประเภทตราสารหนี้ (Market Instrument) ที่ออกโดยองค์กร ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลหรือ ธปท. ไม่ค�้ ำประกัน และ ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรเอกชน เช่น หุ้นกู้ เป็นต้น ภายใต้นโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต บริษัทฯและบริษัทย่อยได้สร้างวัฒนธรรมทางด้านเครดิต เริ่มจาก การจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้หรือคู่สัญญา หรือผู้ออกตราสารหนี้ โดยใช้แบบวิเคราะห์ความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น ตามความเหมาะสมของประเภทคู่สัญญา และมอบหมายให้ หน่วยงานวิเคราะห์ความเสี่ยงเครดิตซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระเป็น ผู้ประเมินความเสี่ยงด้วยแบบวิเคราะห์ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการ ที่มีอ� ำนาจในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ เกี่ยวกับระดับความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้หรือคู่สัญญา วงเงิน สินเชื่อหรือลงทุนที่เหมาะสม และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการให้สินเชื่อ หรือก่อภาระผูกพัน รวมทั้งควบคุมสถานะความเสี่ยงทั้งในระดับ ภาพรวม ด้วยการกระจายความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อไปยังแต่ละ ส่วนธุรกิจและกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ตลอดจนติดตาม ดูแลคุณภาพสินเชื่อให้มีการจัดการอย่างเหมาะสม ด� ำเนินการด้วย ความระมัดระวัง รอบคอบ เน้นการพิจารณาศักยภาพของธุรกิจและ ความสามารถในการช� ำระหนี้คืนเป็นปัจจัยส� ำคัญ โดยมีหน่วยงาน ควบคุมความเสี่ยงเป็นหน่วยงานอิสระท� ำหน้าที่ตรวจสอบการ ท� ำธุรกรรมด้านเครดิตให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางบริหาร ความเสี่ยงด้านเครดิต ปัจจัยความเสี่ยงด้านเครดิตที่ส� ำคัญ มีดังนี้ 1.1 ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีเป้าหมายในการกระจายการปล่อยสินเชื่อ ให้แก่กลุ่มลูกค้าต่าง ๆ โดยเน้นในกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพดี และ พยายามควบคุมไม่ให้เกิดการกระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มากจนเกินไป นอกจากนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีการบริหาร พอร์ตสินเชื่อโดยการวิเคราะห์สถานะพอร์ตสินเชื่อโดยรวม และบริหารสัดส่วนของพอร์ตสินเชื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงสุดภายใต้ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 61 แบบ 56-1 One Report / รายงานประจ� ำปี 2564 บริษัท ทุนธนชาต จ� ำกัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3