Thanachart One Report 2021 - TH

อัตราดอกเบี้ย (Reprice) ในสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน ในแต่ละช่วงเวลา (Repricing Gap Analysis) ซึ่งจะมีการวัด ความเสี่ยงเป็นประจ� ำทุกเดือน เพื่อให้การด� ำเนินงานของ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงอยู่ในขอบเขตที่สามารถ ยอมรับได้ จึงได้จัดให้มีการก� ำหนดระดับเพดานความเสี่ยง และระดับสัญญาณเตือนภัยที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจาก โครงสร้างของสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพัน รวมทั้งการ เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย (Reprice) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในแต่ละช่วงเวลาตามแผนธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อย และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร ควบคุมและติดตาม ความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด โดยมีการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ภาวะตลาดเงินและตลาดทุน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจ เป็นสาเหตุของปัจจัยความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยเพื่อ ก� ำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการรองรับความเสี่ยง 3. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่สามารถช� ำระหนี้สินและภาระผูกพัน เมื่อถึง ก� ำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินสดได้ หรือ ไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้ แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อรายได้และเงินกองทุนของบริษัทฯและบริษัทย่อยในปัจจุบันและ ในอนาคต โดยกลไกการบริหารความเสี่ยงจะเริ่มจากการประเมิน กระแสเงินสดและฐานะสภาพคล่องในแต่ละช่วงเวลาที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยอาจมีความต้องการเงินทุนแตกต่างกันเพื่อรองรับ การครบก� ำหนดของเงินกู้ยืม การลดหนี้สินประเภทอื่นลง หรือ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ โดยใช้เครื่องมือทั้งที่เป็นแบบจ� ำลอง วิเคราะห์ฐานะสภาพคล่อง (Liquidity Gap Analysis) อัตราส่วน ด้านสภาพคล่องต่าง ๆ ตลอดจนการใช้สถานการณ์จ� ำลองโดยการ ตั้งสมมติฐาน (“What if” Scenarios) เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบ ว่า บริษัทฯและบริษัทย่อยจะยังคงมีสภาพคล่องที่เพียงพอหรือไม่ ภายใต้กระแสเงินสดที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของลูกค้าในการต่ออายุ สัญญาเมื่อครบก� ำหนด ขณะเดียวกันบริษัทฯและบริษัทย่อยมีการจัดท� ำแผนรองรับ เหตุฉุกเฉินไว้ รองรับกรณีเกิดปัญหาสภาพคล่ องและจะมี การทบทวนเมื่อมีเหตุการณ์ส� ำคัญที่จะมีผลต่อการด� ำเนินงาน ตามแผน ทั้งนี้ การควบคุมและติดตามความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง บริษัทฯและบริษัทย่อยได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะจัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามสถานะและ บริหารจัดการความเสี่ยงเป็นประจ� ำ 4. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาด การก� ำกับดูแลกิจการที่ดี ขาดธรรมาภิบาลในองค์กรหรือขาดการ ควบคุมที่ดีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานภายใน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์ภายนอก และส่งผลกระทบต่อรายได้ จากการด� ำเนินงานและเงินกองทุนของบริษัทฯและบริษัทย่อย รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง หรือด� ำเนินคดีตามกฎหมาย ถูกทางการเปรียบเทียบปรับ รวมทั้ง ความเสียหายที่ได้รับจากการตกลงกันนอกชั้นศาล เป็นต้น ซึ่ง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจะมีผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านอื่น โดย เฉพาะความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) และด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความตระหนักดีว่า การบริหาร ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดี เป็นสิ่งที่ส� ำคัญต่อการด� ำเนินธุรกิจให้ บรรลุเป้าหมายให้ส� ำเร็จได้อย่างยั่งยืน จากสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน ซึ่งมีความไม่แน่นอน บริษัทฯและบริษัทย่อยจึงให้ความส� ำคัญ ต่อการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ และ มีประสิทธิผล อีกทั้งครอบคลุมการด� ำเนินงานทั่วทั้งบริษัทฯและ บริษัทย่อยอย่างเพียงพอและเตรียมความพร้อมรับกับสภาวการณ์ ที่ไม่คาดคิดดังกล่าวได้อย่างทันกาล รวมทั้งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ มีแนวโน้มเข้มข้นขึ้น ทั้งนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้ก� ำหนด นโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มุ่งเน้น ไปที่การป้องกันและติดตามดูแลความเสี่ยง นอกจากนี้ การควบคุม ภายในเป็นกลไกส� ำคัญในการควบคุมและป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯและบริษัทย่อยจึงจัดให้มีระบบควบคุมภายใน ที่ดี อันได้แก่ ก� ำหนดโครงสร้างองค์กรให้มีการสอบทานและ ถ่วงดุลอ� ำนาจซึ่งกันและกัน การจัดให้มีหน่วยงานสนับสนุนการ ท� ำธุรกรรมที่มีความช� ำนาญเฉพาะด้านและเป็นอิสระ เพื่อลดความ ผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น การจัดให้มีระเบียบปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับการท� ำธุรกรรมทุกประเภท การจัดการระบบสารสนเทศและระบบ รักษาความปลอดภัยของข้อมูล ตลอดจนการจัดท� ำแผนรองรับการ ด� ำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น บริษัทฯและบริษัทย่อยมีการก� ำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบหรือ เงื่อนไขของวิธีการที่ใช้ในการวัดและประเมินความเสี่ยงภายใน ของบริษัทฯและบริษัทย่อยเอง โดยวิธีการดังกล่าวบริษัทฯและ บริษัทย่อยมีการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แนวทาง การก� ำกับดูแลของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ลักษณะและความ ซับซ้อนของธุรกิจ ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง โดยมี การจัดท� ำเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ส� ำคัญ เช่น การประเมินความเสี่ยงและการควบคุมด้วยตนเอง (Risk and 63 แบบ 56-1 One Report / รายงานประจ� ำปี 2564 บริษัท ทุนธนชาต จ� ำกัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3