Thanachart One Report 2021 - TH

ผลประโยชน์ในการท� ำรายการ ต้องแจ้งการมีส่วนได้เสีย เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณาและห้ามกรรมการ ผู้บริหาร ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในช่วงการพิจารณารายการนั้น ๆ 6. ก� ำหนดให้เปิดเผยข้อมูลการถือหุ้น การด� ำรงต� ำแหน่ง ในบริษัทต่าง ๆ ตลอดจนถึงการถือหลักทรัพย์และสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่มีหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เป็นปัจจัย อ้างอิงของกรรมการ ผู้บริหาร 4 รายแรกต่อจากผู้จัดการ ลงมาและผู้บริหารสูงสุดฝ่ายบัญชีหรือฝ่ายการเงิน รวมถึง คู่สมรส ผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว เป็นรายไตรมาส เพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมดูแลรายการที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์และเป็นฐานรายชื่อในการเปิดเผย รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน 7. ก� ำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ระหว่างบริษัทฯ กับพนักงาน รวมถึงคู่สมรส ญาติ และ คู่ค้าหรือคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เพื่อป้องกัน ผลประโยชน์ที่ทับซ้อน 8. ก� ำหนดเป็นความผิดวินัยในกรณีการกระท� ำใด ๆ ที่เป็น การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ การต่อต้านการทุจริตและการคอร์รัปชั่น กลุ่มธนชาตตระหนักดีว่า การคอร์รัปชั่นส่งผลร้ายและเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้ง สร้างความไม่เป็นธรรมในการด� ำเนินธุรกิจ จึงได้ร่วมมือกับทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชนภายใต้โครงการ CAC ด้วยการแสดง เจตนารมณ์ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ ปี 2557 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ธนชาตได้ผ่านการรับรองการต่ออายุสมาชิก โดยกลุ่มธนชาต ได้ก� ำหนด “นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น” มาตรการ ขั้นตอน และกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พนักงานทุกคนในกลุ่ม ธนชาตยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ 1. คณะกรรมการบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มธนชาต ได้อนุมัติ นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น และมีการทบทวนเป็นประจ� ำ โดยนโยบายได้ก� ำหนดความหมายของค� ำว่า “คอร์รัปชั่น และรูปแบบการคอร์รัปชั่น” ไว้อย่างชัดเจน มีสาระส� ำคัญว่า กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ต้องไม่เรียกร้อง ด� ำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ตนเอง ครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ผู้บริหารของกลุ่มธนชาต มีหน้าที่ดูแลและให้การ สนับสนุนการปฏิบัติ รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของ มาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ ธุรกิจ ข้อบังคับ และข้อก� ำหนดของกฎหมาย 2. ก� ำหนดให้การต่อต้านการคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของ ค่านิยมหลักองค์กร (Core Values) หรือ C3SIP (ซีสามสิบ) เพื่อให้พนักงานทุกคนในกลุ่มธนชาตน� ำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมีสาระส� ำคัญ ดังนี้ • Customer Focus : ตอบสนองความต้องการของลูกค้า • Collaboration : มีการท� ำงานเป็นทีม • Commitment : ปฏิบัติหน้าที่ให้ส� ำเร็จตามเป้าหมาย • Spirit : ทุ่มเทในการท� ำงาน • Integrity : ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และต่อต้านการ คอร์รัปชั่น • Professional : มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ 3. การประเมินความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่นของแต่ละ บริษัทในกลุ่มธนชาต ใช้หลักการและวิธีการประเมิน ความเสี่ยง และการควบคุมด้วยตนเอง (Risk and Control Self-Assessment: RCSA) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือ ส� ำหรับการบริหารความเสี่ยง ด้านปฏิบัติการ ได้แก่ การระบุความเสี่ยง ประเมินระดับความเสี่ยง ก� ำหนดระบบ การควบคุมภายในเพื่อควบคุมและลดความเสี่ยง เพื่อ ป้องกันความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่น รวมทั้งมีการติดตาม และทบทวนความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่นอย่างสม�่ ำเสมอ เป็นประจ� ำทุก 3 ปี หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติ งานอย่างมีนัยส� ำคัญ โดยมีการติดตามความคืบหน้า ของแผนปฏิบัติ การด� ำเนินการตามมาตรการควบคุม ความเสี่ยง และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบ และคณะกรรมการของบริษัททราบ 4. ก� ำหนดมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อให้พนักงาน ของกลุ่มธนชาตยึดถือปฏิบัติภายใต้หลักการควบคุมภายใน ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชั่นและนโยบาย ต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยมีการทบทวนแนวปฏิบัติ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความเสี่ยงเป็นประจ� ำ พร้อมทั้งก� ำหนดบทลงโทษส� ำหรับพนักงานที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น 172

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3