Thanachart One Report 2021 - TH

รายได้และค่าใช้จ่ายทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดขึ้นจากการให้ เช่าซื้อและเช่าการเงินจะถูกรับรู้โดยการปันส่วนทยอยรับรู้ตามวิธี อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง และแสดงหักจากรายได้ดอกเบี้ยจาก สัญญาเช่าซื้อและเช่าการเงินตลอดอายุของสัญญาเพื่อให้สะท้อน ถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของสัญญา เงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 บริษัทและบริษัทย่อยจะรับรู้ รายได้ดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้ด้อยคุณภาพ จากราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต และรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง (ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุนในลูกหนี้โดยการ ค� ำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ใช้ก� ำหนดราคาทุนของลูกหนี้ทั้งกลุ่ม (Yield) คูณด้วยราคาตามบัญชีใหม่ (ราคาทุนที่ซื้อ) ของลูกหนี้คงเหลือ ส� ำหรับเงินลงทุนในลูกหนี้ที่มีการจ่ายช� ำระในระหว่างปี และจะรับรู้ รายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้โดยวิธีอัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง โดยจะรับรู้รายได้ดอกเบี้ยรับในจ� ำนวนที่ไม่สูงกว่าจ� ำนวน เงินที่ได้รับช� ำระจากลูกหนี้ และในกรณีที่เงินรับจากลูกหนี้สูงกว่า ราคาทุนที่จ่ายซื้อและดอกเบี้ยที่รับรู้ บริษัทฯจะบันทึกส่วนต่างเป็น ก� ำไรจากการรับช� ำระหนี้ในส่วนของก� ำไรหรือขาดทุน) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ปรับด้วยความเสี่ยงด้านเครดิต ค� ำนวณจากอัตราที่ใช้ในการคิดลดประมาณ การเงินสดจ่ายหรือ รับในอนาคตตลอดอายุของสินทรัพย์ทางการเงินที่คาดไว้ เพื่อ ให้ได้ราคาทุนตัดจ� ำหน่ายของสินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่า ด้านเครดิตตั้งแต่เมื่อเริ่มแรกที่ซื้อหรือได้มา ในการประมาณการ กระแสเงินสดสุทธิที่คาดว่าจะได้รับจะอ้างอิงข้อมูลทางสถิติจาก กระแสเงินสดรับสุทธิจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นจริงในอดีต มาพัฒนาขึ้นเป็นแบบจ� ำลอง โดยมีข้อสันนิษฐานว่าประมาณการ กระแสเงินสดรับสุทธิและอายุที่คาดไว้ของกลุ่มของเครื่องมือทาง การเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันสามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ ในกรณีที่ลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่รับซื้อมานั้นได้ตัดรายการราคา ทุนครบถ้วนแล้ว แต่บริษัทฯและบริษัทย่อยยังมีสิทธิเรียกร้องให้ ลูกหนี้ช� ำระหนี้ตามสัญญาได้ เมื่อได้รับช� ำระจากลูกหนี้ บริษัทฯและ บริษัทย่อยจะรับรู้เป็นก� ำไรจากการรับช� ำระหนี้ทั้งจ� ำนวน เงินให้สินเชื่ออื่น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้รายได้ จากเงินให้สินเชื่อตามเกณฑ์คงค้างตามวิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Effective interest method) ตลอดระยะเวลาของสัญญา โดยค� ำนวณจากมูลค่าตามบัญชีขั้นต้นของลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงคืออัตราที่ใช้คิดลดประมาณการ กระแสเงินสดรับในอนาคตตลอดอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทาง การเงิน โดยค� ำนึงถึงส่วนลดหรือส่วนเกินในการได้มาซึ่งสินทรัพย์ และค่าธรรมเนียมตลอดจนต้นทุนที่เป็นส่วนหนึ่งของอัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง ส� ำหรับลูกหนี้เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตในภายหลัง บริษัทฯและบริษัทย่อยจะรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามวิธีอัตราผลตอบแทน ที่แท้จริง โดยค� ำนวณจากยอดหนี้สุทธิทางบัญชีของลูกหนี้นั้น (ยอดหนี้ คงค้างสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) หากสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวไม่ด้อยค่าด้านเครดิตแล้ว จะค�ำนวณรายได้ดอกเบี้ยบนมูลค่าตามบัญชีดังเดิม ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 บริษัทฯและบริษัทย่อยหยุดรับรู้ รายได้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์คงค้างส� ำหรับเงินให้สินเชื่อที่ผิดนัดช� ำระ เงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินก� ำหนดสามเดือนนับจากวันครบก� ำหนด ช� ำระ และจะโอนกลับรายการดอกเบี้ยค้างรับที่เคยบันทึกบัญชีเป็น รายได้แล้วนั้นออกจากบัญชี การบันทึกรายได้ดอกเบี้ยหลังจากนั้น จะบันทึกตามเกณฑ์เงินสดจนกว่าจะได้รับช� ำระหนี้ที่ค้างเกินก� ำหนด ช� ำระดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้รายได้ ดอกเบี้ยส� ำหรับลูกหนี้ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ตาม เกณฑ์คงค้าง โดยอิงจากอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายช� ำระ ตามสัญญา ยกเว้นหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่อยู่ระหว่าง การติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ซึ่งจะรับรู้เป็นรายได้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์เงินสดจนกว่าลูกหนี้จะปฏิบัติ ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามเดือน หรือสามงวดการช� ำระเงินแล้วแต่ระยะเวลาใดจะนานกว่า นโยบายการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม สามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ ลูกหนี้สามารถที่จะด� ำเนินธุรกิจต่อไปได้ และสามารถที่จะช� ำระหนี้คืน ให้กับบริษัทฯ ได้สูงสุด และได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจาก ลูกหนี้มีปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว เงินลงทุนในหลักทรัพย์ นโยบายเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทฯและบริษัทย่อยเล็งเห็นว่าการบริหารเงินลงทุนเป็น ส่วนส� ำคัญในการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งรวมไปถึงการลงทุน ในหลักทรัพย์ชั่วคราวและระยะยาวทั้งภาครัฐและเอกชน โดยก� ำหนด ให้มีการทบทวนแผนการลงทุนทุกปี หรือทุกครั้งที่มีสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงในตลาดเงินและตลาดทุนอย่างมีนัยส� ำคัญ และให้มี การวัดผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนรายงานต่อผู้บริหาร ระดับสูงอย่างสม�่ ำเสมอ 49 แบบ 56-1 One Report / รายงานประจ� ำปี 2564 บริษัท ทุนธนชาต จ� ำกัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3