Thanachart One Report 2021 - TH

รายได้เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาและมีการปรับปรุงด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการรับรู้รายได้และ เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และข้าพเจ้าได้ท� ำการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลบัญชีรายได้ดอกเบี้ย และสุ่มตรวจสอบ รายการปรับปรุงบัญชีที่ส� ำคัญที่ท� ำผ่านใบส� ำคัญทั่วไป การด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทร่วม กลุ่มบริษัทมีเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จ� ำนวน 52,955 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 37 ของยอดสินทรัพย์รวม) ข้าพเจ้าให้ความส� ำคัญในการพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทร่วม เนื่องจากการประเมินการด้อยค่าของเงินลงทุน ในบริษัทร่วมถือเป็นประมาณการทางบัญชีที่ส� ำคัญที่ฝ่ายบริหารต้องใช้ดุลยพินิจในการประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ทั้งจาก มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย หรือมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ซึ่งรวมถึงการระบุหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิด เงินสดและการประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับ รวมถึงการก� ำหนดอัตราคิดลดและอัตราการเติบโต ในระยะยาวที่หมาะสม ซึ่งท� ำให้เกิดความเสี่ยงในการแสดงมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่ไม่เหมาะสม ข้าพเจ้าได้ท� ำความเข้าใจและประเมินการก� ำหนดหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดและแบบจ� ำลองทางการเงินที่ฝ่ายบริหาร ของกลุ่มบริษัทเลือกใช้ โดยท� ำความเข้าใจกระบวนการพิจารณาของฝ่ายบริหารว่าสอดคล้องตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของ สินทรัพย์หรือไม่ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้ทดสอบความเหมาะสมของสมมติฐานที่ส� ำคัญที่ใช้ในการประมาณการกระแสเงินสดที่ คาดว่าจะได้รับในอนาคตที่จัดท� ำโดยฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัท โดยการเปรียบเทียบข้อสมมติดังกล่าวกับแหล่งข้อมูลภายนอกและ ภายในของบริษัทฯ รวมถึงเปรียบเทียบประมาณการกระแสเงินสดกับผลการด� ำเนินงานที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อประเมินการใช้ดุลยพินิจ ของฝ่ายบริหารในการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต และพิจารณาความเหมาะสมของอัตราคิดลดและอัตรา การเติบโตของรายได้ในระยะยาวที่ฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัทเลือกใช้ และทดสอบการค� ำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หนี้สินจากสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิต ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมข้อ 25 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 กลุ่มบริษัทมียอดคงค้าง เงินส� ำรองประกันชีวิต จ� ำนวน 5,101 ล้านบาท และส� ำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายจากสัญญาประกันภัยจ� ำนวน 1,883 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของหนี้สินตามสัญญาประกันภัย/ประกันชีวิตตามงบการเงิน โดยเงินส� ำรองประกันชีวิตเป็นยอดเงินส� ำรอง สะสมตั้งแต่วันเริ่มท� ำประกันถึงวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานส� ำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีผลบังคับอยู่ ซึ่งค� ำนวณขึ้นโดยฝ่ายบริหารของ บริษัทย่อยตามวิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยใช้ข้อสมมติหลายประการที่เป็นค่าประมาณการที่ดีที่สุดของภาระผูกพัน ตามสัญญาประกันชีวิต ณ ขณะนั้น และส� ำหรับบัญชีส� ำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายเป็นประมาณการ ส� ำรองทั้งในส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้นและได้รับรายงานแล้วและความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้รับรายงาน ซึ่งการ ประมาณการดังกล่าวค� ำนวณขึ้นโดยฝ่ายบริหารของบริษัทย่อยตามวิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ข้อสมมติหลักที่ใช้ ในการค� ำนวณอ้างอิงจากข้อมูลในอดีต และต้องใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในการประมาณการ การเปลี่ยนแปลงข้อสมมติต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดส� ำรองประกันภัยและส� ำรองประกันชีวิต ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงให้ความส� ำคัญกับการตรวจสอบความเพียงพอของ การประมาณการส� ำรองดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ศึกษา ท� ำความเข้าใจ ประเมินและสุ่มทดสอบประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการรับเรื่องสินไหมทดแทน การจัดการสินไหมทดแทน การตั้งประมาณการส� ำรองสินไหมทดแทนและสินไหมค้างจ่าย และการประมาณการเงินส� ำรองประกันชีวิต โดยการสอบถามผู้บริหาร ท� ำความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์และข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้สุ่มทดสอบข้อมูลที่นักคณิตศาสตร์ใช้ในการค� ำนวณเงินส� ำรองและประมาณการส� ำรองสินไหมทดแทน สุ่มตัวอย่าง แฟ้มสินไหมรายใหญ่ วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลความถี่ของการเกิดความเสียหายและขนาดของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อครั้ง วิเคราะห์เปรียบเทียบรายการเคลื่อนไหวของยอดเงินส� ำรอง นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้สอบทานรายงานการค� ำนวณประมาณการส� ำรอง ที่จัดท� ำโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยว่าสอดคล้องกับประมาณการที่ตั้งไว้ในบัญชี ประเมินข้อสมมติ วิธีการที่ใช้ในการค� ำนวณ ทดสอบข้อมูลในอดีตที่นักคณิตศาสตร์ใช้ และเปรียบเทียบกับข้อสมมติที่ใช้ในปีก่อน 183 แบบ 56-1 One Report / รายงานประจ� ำปี 2564 บริษัท ทุนธนชาต จ� ำกัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3