Thanachart One Report 2021 - TH

2.9 การควบคุมภายในและรายการระหว่างกัน การควบคุมภายใน บริษัทฯ ให้ความส� ำคัญต่อการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง โดยเล็งเห็นว่าการควบคุมภายในที่ดีจะส่งผลให้บริษัทฯ สามารถ ด� ำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย รวมถึง ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของผู้บริหารและพนักงาน นอกจากการให้ความส� ำคัญในเรื่องการควบคุมภายในแล้ว ยังเล็งเห็นว่า ข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชีภายนอก จะมีส่วนช่วย ในการพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งขอกล่าวถึงระบบการควบคุมภายใน โดยสรุปดังนี้ 1. องค์กรและสภาพแวดล้อม บริษัทฯ ก� ำหนดให้มีการจัดโครงสร้างที่สนับสนุนการบรรลุ วัตถุประสงค์ของบริษัทฯ มีการก� ำหนด มอบหมาย และจ� ำกัดอ� ำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมเป็นลายลักษณ์อักษร จัดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการแบ่งแยกหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อนุมัติ ผู้ติดตามควบคุม และผู้ประเมินผลออกจากกัน เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นการถ่วงดุลอ� ำนาจ ซึ่งกันและกัน และมีการก� ำกับดูแลที่ดี จัดให้มีนโยบาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติ และคู่มือการปฏิบัติงานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมี การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาความเพียงพอ ของระบบการควบคุมภายใน และจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อย ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของบริษัทฯ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัทฯ มีการพิจารณาก� ำหนดเป้าหมายในการ ด� ำเนินธุรกิจที่ชัดเจน วัดผลได้ และมีการติดตามผลการด� ำเนินงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ก� ำหนดไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้มี นโยบายการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี คู่มือจรรยาบรรณ (Handbook of the Code of Ethics) นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น และมาตรการ ต่อต้านการคอร์รัปชั่น รวมถึงระเบียบค� ำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานถือปฏิบัติ และจัดให้มีการจัดท� ำแบบ ประเมินตนเองด้านการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี และการต่อต้านการ คอร์รัปชั่น เพื่อเป็นการกระตุ้นการรับรู้และจิตส� ำนึกของพนักงาน ทุกปี รวมถึงมีระบบหรือช่องทางเพื่อให้ลูกค้าและพนักงานสามารถ แสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการ รวมทั้ง แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตและการคอร์รัปชั่นผ่านช่องทาง ที่บริษัทฯ ก� ำหนด โดยมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและ ผู้ที่ถูกกล่าวหาอย่างเป็นธรรม 2. การบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยง (Risk Oversight Committee) ท� ำหน้าที่พิจารณาและก� ำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการด� ำเนินธุรกิจ ก� ำหนดนโยบายและแนวทาง การบริหารความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร เผยแพร่ไว้ในระบบ อินทราเน็ต เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็น แนวปฏิบัติ รวมทั้งมีการประเมินการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการด� ำเนินธุรกิจ ตลอดจนมีการก� ำหนด มาตรการตอบสนองอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งน� ำเสนอรายงาน ประเด็นความเสี่ยงที่ส� ำคัญต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจ� ำ 3. การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร บริษัทฯ ก� ำหนดมาตรการการควบคุมภายใน ในทุกระดับอย่าง เหมาะสมและครอบคลุมกระบวนการต่าง ๆ มีการก� ำหนดอ� ำนาจ และระดับการอนุมัติรายการไว้อย่างชัดเจน ในส่วนของการ ท� ำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ได้ก� ำหนดแนวทางป้องกัน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้ในนโยบายการก� ำกับดูแลกิจการ ที่ดี และนโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธนชาต ซึ่งการ อนุมัติจะต้องไม่กระท� ำโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การให้สินเชื่อหรือ การลงทุนได้ก� ำหนดนโยบายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) หรือ ลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง และในกรณีที่บริษัทฯ มีการลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทฯ มีการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมเป็น กรรมการเพื่อก� ำหนดนโยบายและทิศทางของบริษัทย่อย รวมถึง การจัดให้มีการรายงานผลการด� ำเนินงานของบริษัทย่อยแก่บริษัทฯ เป็นประจ� ำทุกเดือน ในเรื่องมาตรการควบคุมการใช้งานระบบสารสนเทศ บริษัทฯ มีการก� ำหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น นโยบายความมั่นคงปลอดภัย ของระบบสารสนเทศ มาตรฐานการควบคุมการพัฒนาและการ บ� ำรุงรักษาระบบเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุม การปฏิบัติงานของบริษัทฯ 175 แบบ 56-1 One Report / รายงานประจ� ำปี 2564 บริษัท ทุนธนชาต จ� ำกัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3