Thanachart One Report 2021 - TH

ส่วนที่ 2 การก� ำกับดูแลกิจการ 2.6 นโยบายการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี และคู่มือจรรยาบรรณ ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการก� ำกับดูแลกิจการ และคู่มือจรรยาบรรณ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ก� ำหนดนโยบายการก� ำกับดูแลกิจการ ที่ดี (“นโยบายฯ”) และคู่มือจรรยาบรรณ ซึ่งประกอบด้วย จรรยาบรรณ ทางธุรกิจ และจรรยาบรรณกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และ นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษรและถือเป็น กรอบในการปฏิบัติงานส� ำหรับบุคลากรมาตั้งแต่ปี 2546 พร้อมทั้ง ก� ำหนดให้บริษัทในกลุ่มธนชาตน� ำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ให้ เหมาะสมและเพียงพอกับลักษณะของธุรกิจ โดยยึดมั่น ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการปฏิบัติที่สอดคล้องกับ กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนโยบายฯ และคู่มือจรรยาบรรณ ดังกล่าวจะได้รับการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยนโยบายฯ และ คู่มือจรรยาบรรณฉบับปรับปรุงปี 2564 ตามเอกสารแนบ 5 บริษัทฯ ได้น� ำส่งนโยบายฯ รวมทั้งคู่มือจรรยาบรรณผ่านทาง อีเมลที่ใช้ภายในองค์กร (outlook) แก่ผู้บริหารในแต่ละฝ่ายงาน เพื่อให้แจ้งเวียนข้อมูลดังกล่าวให้พนักงานได้ศึกษารายละเอียด รวมถึงเปิดเผยไว้ในระบบอินทราเน็ตของกลุ่มธนชาต และเว็บไซต์ ของบริษัทฯ (www.thanachart.co.th) รวมถึงการน� ำส่งนโยบายฯ และคู่มือจรรยาบรรณให้แก่บริษัทในกลุ่มธนชาต เพื่อน� ำไปปรับปรุง นโยบายของแต่ละบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายส� ำคัญในการสื่อสาร ไปยังพนักงานกลุ่มธนชาต ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยทั่วถึง และสะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทฯ และของ กลุ่มธนชาต นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ยังได้พิจารณาให้มีกฎบัตร คณะกรรมการบริษัทฯ และกฎบัตรคณะกรรมการชุดย่อยทุกคณะ ที่แสดงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละชุด และประกาศให้กรรมการบริษัทฯ และกรรมการชุดย่อยทุกคน ยึดถือปฏิบัติ โดยนโยบายฯ คู่มือจรรยาบรรณ และกฎบัตร คณะกรรมการ บริษัทฯ ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ การก� ำกับดูแลกิจการที่ดี ตามโครงการส� ำรวจการก� ำกับดูแลกิจการ ที่ดีของบริษัทจดทะเบียน (CGR) หลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี ส� ำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017: CG Code) ของ ก.ล.ต. และ แนวปฏิบัติในเรื่องอื่น ๆ ตามหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดีส� ำหรับ บริษัทจดทะเบียน มาปรับใช้ตามความเหมาะสมของการด� ำเนิน ธุรกิจของบริษัทฯ นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสียอื่นและ คณะกรรมการ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น 1.1 การดูแลสิทธิพื้นฐานของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มีนโยบายปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น และการส่งเสริม ให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิ โดยครอบคลุมสิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย เช่น การมีส่วนแบ่งก� ำไรของกิจการในรูปของเงินปันผล การซื้อขายหรือโอนหุ้น การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิ ออกเสียงในที่ประชุมอย่างเท่าเทียมกันและเป็นอิสระ และการได้รับข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ผ่านระบบของ ตลท. และเว็บไซต์ของ บริษัทฯ ที่ผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง เท่าเทียมกัน 1.2 การประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักว่าผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิ พื้นฐานเท่าเทียมกันในการเข้าร่วมประชุม และมีนโยบาย ในการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม รวมทั้งผู้ถือหุ้นประเภท สถาบันให้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น โดยได้ก� ำหนดนโยบาย การจัดประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมกัน ในการเข้าร่วมประชุม การลงมติ การเสนอวาระ การเสนอ ชื่อบุคคล ความครบถ้วนเพียงพอของหนังสือบอกกล่าว เชิญประชุมและการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนสถานที่จัด ประชุม วันและเวลาที่จัดประชุมไว้อย่างชัดเจนในนโยบาย การก� ำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดูแลการจัดประชุมให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว และ แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ก.ล.ต. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสมาคม ส่งเสริมผู้ลงทุนไทย จัดท� ำและเปิดเผยเพื่อส่งเสริมให้ บริษัทจดทะเบียนด� ำเนินการ 2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการบริษัทฯ จัดกระบวนการประชุมผู้ถือหุ้นที่ผู้ถือหุ้น สามารถใช้สิทธิได้อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีการเปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย สามารถเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้ง เป็นกรรมการและ/หรือ เสนอวาระการประชุมล่วงหน้าในเวลาอัน สมควร และจัดกระบวนการมอบฉันทะเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น รองรับกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสามารถใช้สิทธิ 142

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3