Thanachart One Report 2021 - TH

2. การบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะช่วยให้กลุ่มธนชาตรับมือกับ ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันท่วงที อันจะ น� ำไปสู่ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ส่งผลให้กลุ่มธนชาต สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน บริษัทฯ จึงได้ก� ำหนดนโยบายและแนวทางการบริหาร ความเสี่ยงอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้ก� ำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พนักงาน ได้ถือปฏิบัติตาม และยังได้ก� ำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุถึงลักษณะ ของความเสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยง 2) การพัฒนาเครื่องมือและ แบบจ� ำลอง (Model) ที่เหมาะสมส� ำหรับวัดค่าความเสี่ยง และ การประเมินความเสี่ยง 3) การควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ ยอมรับได้ และ 4) การติดตามสถานะความเสี่ยงเพื่อจัดการ ความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ก� ำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจนในการ บริหารและดูแลความเสี่ยงที่ครอบคลุมความเสี่ยงในทุกด้าน สามารถดูรายละเอียดได้ที่ส่วนที่ 1.2 การบริหารจัดการความเสี่ยง ส� ำหรับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่ม ธนชาต ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบอันเกิดขึ้นจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยให้ความส� ำคัญ ทั้งความปลอดภัยของพนักงานทุกบริษัทในกลุ่มธนชาต รวมถึง สภาวะเศรษฐกิจ ความผันผวนทางการเงินการธนาคาร การให้ บริการกับลูกค้าและคู่ค้าต่าง ๆ หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจในทุกแง่มุม โดยสรุปภาพรวมการบริหารจัดการความเสี่ยง และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดังนี้ 1) มาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยของพนักงาน 1.1) บริษัทในกลุ่ มธนชาต มีการก� ำหนดมาตรการ ของหน่วยงานในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และ ติดตาม โดยปรับการท� ำงานเป็นรูปแบบ Hybrid Working กล่าวคือ มีการจัดสรรการเข้าท� ำงาน สลับกับการ Work from Home ตามช่วงเวลาที่ เหมาะสม ตามแต่ละหน้าที่ความรับผิดชอบของ พนักงาน เพื่อลดความหนาแน่นในสถานที่ท� ำงาน โดยพิจารณาจากความจ� ำเป็นของงาน ซึ่งจะต้อง ไม่กระทบต่อลูกค้าและบริษัทฯ 1.2) มีการส่งเสริม สนับสนุน และจัดหา ให้พนักงาน ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 อย่างรวดเร็ว 1.3) จัดท� ำมาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด เช่น จัดประชุม ผ่าน MS Teams หรือระบบการประชุมทางโทรศัพท์ (Teleconference) เท่านั้น งดจัดประชุมแบบ Face-to-face และหากพนักงานมีความจ� ำเป็น ต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในบริษัท จะต้องด� ำเนินการ ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าอาคาร สวมหน้ากากอนามัย ฯลฯ อย่างเคร่งครัด 2) มาตรการจัดการความเสี่ยงในพื้นที่ส� ำนักงาน 2.1) มีการจัดตั้งจุดคัดกรองอุณหถูมิก่อนเข้าอาคาร ส� ำนักงานและการจัดจุดบริการแอลกอฮอล์กระจาย อยู่ในต� ำแหน่งที่เหมาะสมโดยรอบส� ำนักงาน รวมถึง ให้มีการอบโอโซนฆ่าเชื้อโรคเป็นระยะทั่วทุกบริเวณ ของพื้นที่ท� ำงาน 2.2) จัดให้มีการควบคุมการเข้าออกของบุคคลภายนอก ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือติดต่อกับส� ำนักงาน โดยจะ ต้องด� ำเนินการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมใส่ หน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด 3) มาตรการจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจต่าง ๆ 3.1) ในธุรกิจการให้สินเชื่อ บริษัทมีความระมัดระวัง พิจารณาความสามารถในการช� ำระหนี้ของลูกค้า อย่างรัดกุมรอบคอบตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมี ความไม่แน่นอน โดยได้ประเมินสถานการณ์และ ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ ลูกค้า 3.2) มีการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยการพักช� ำระหนี้ การขยายระยะเวลาผ่อนช� ำระ และการรีไฟแนนซ์ ตามความจ� ำเป็นและความ เหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย เพื่อช่วยเหลือและ ป้องกันลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวไม่ให้กลายเป็นลูกหนี้ ด้อยคุณภาพในอนาคต 3.3) ผู้บริหารระดับสูงของทุกบริษัทในกลุ่มธนชาตได้มี การประชุมหารือกันอย่างสม�่ ำเสมอเพื่อประเมินและ ทบทวนแผนงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป และรายงานความคืบหน้าต่อ คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย อย่างต่อเนื่อง 80

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3