Thanachart One Report 2021 - TH

แบบ 56-1 One Report / รายงานประจ� ำปี 2564 บริษัท ทุนธนชาต จ� ำกัด (มหาชน) ส� ำหรับปี 2564 ราชธานีลิสซิ่งและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม จ� ำนวน 49,223 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยมีสัดส่วนของลูกหนี้เช่าซื้อ (สุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้าน เครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) คิดเป็นร้อยละ 96.24 ของสินทรัพย์รวม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ราชธานีลิสซิ่งยังคง มุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง และด� ำเนินการประเมิน คุณภาพของสินเชื่อที่อยู่ภายใต้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนจากผลกระทบของสถานการณ์การ แพร่ระบาด ซึ่งมีความเสี่ยงของการกลายพันธุ์ที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราชธานีลิสซิ่งยังคงเน้นการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักของราชธานีลิสซิ่ง รวมถึงการดูแลรักษา ฐานลูกค้า เพื่อคงส่วนแบ่งทางการตลาดและท� ำให้ราชธานีลิสซิ่ง ยังคงมีความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง คุณภาพลูกหนี้และการตั้งส� ำรองหนี้สงสัยจะสูญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ราชธานีลิสซิ่งมีค่าเผื่อผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เช่าการเงิน จ� ำนวน 1,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.93 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ส� ำหรับการตั้งส� ำรอง ผลขาดทุน ด้านเครดิตของราชธานีลิสซิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 มีจ� ำนวน เพิ่มขึ้น 248 ล้านบาท เป็นผลมาจากภาวะความเสี่ยงด้านเครดิต ที่เพิ่มสูงขึ้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ภาคเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก และรายได้ภาคครัวเรือนที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายและการลงทุนของ ภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง การตั้งส� ำรองเพิ่มขึ้นในปี 2564 สะท้อนแบบจ� ำลอง ECL ที่คาดการณ์แนวโน้มในอนาคต เพื่อรองรับ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ การระบาดดังกล่าว ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) ราชธานีลิสซิ่งมีนโยบายตัดหนี้สูญโดยจะตัดจ� ำหน่ายลูกหนี้ ออกจากบัญชีเมื่อศาลมีค� ำพิพากษาตัดสินให้ลูกหนี้และผู้ค�้ ำประกัน ช� ำระหนี้ให้ราชธานีลิสซิ่ง เมื่อราชธานีลิสซิ่งไม่สามารถยึดทรัพย์ หรือบังคับคดีให้เป็นไปตามค� ำพิพากษาได้ และเมื่อเห็นว่าไม่สามารถ เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ การตัดจ� ำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญจะน� ำไป ลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญได้รับคืนจะบันทึกในส่วนของ รายได้อื่น ส� ำหรับในปี 2564 และปี 2563 ราชธานีลิสซิ่งตัดหนี้สูญ เป็นจ� ำนวน 264 ล้านบาท และ 438 ล้านบาท ตามล� ำดับ ลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เช่าการเงินหลังจากหักดอกเบี้ยที่ยัง ไม่ถือเป็นรายได้ ส� ำหรับปี 2564 และปี 2563 ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ ปกติที่ค้างช� ำระไม่เกิน 3 งวด รวมจ� ำนวนเงิน 47,533 ล้านบาท และ 46,476 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.23 และร้อยละ 96.87 ของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อและลูกหนี้เช่าการเงินรวม ตามล� ำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ของราชธานีลิสซิ่งยังคงอยู่ใน ระดับปกติทั่วไป ความเพียงพอของการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ราชธานีลิสซิ่งค� ำนวณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ของสินทรัพย์ทางการเงินโดยน� ำหลักการทั่วไป (General Approach) มาใช้ โดยจัดกลุ่มสินทรัพย์ทางการเงินออกเป็น 3 กลุ่ม (three-stage approach) เพื่อวัดมูลค่าของค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น โดยการจัดกลุ่มจะพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของ คุณภาพด้านเครดิตนับจากวันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก และส� ำหรับ ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งศาลพิพากษาให้ราชธานีลิสซิ่งชนะคดี ราชธานีลิสซิ่งได้แสดงลูกหนี้ดังกล่าวไว้ภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ในงบแสดงฐานะการเงิน และได้ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไว้เต็มจ� ำนวนส� ำหรับลูกหนี้ดังกล่าวโดยไม่หัก หลักประกัน ผลขาดทุนด้ านเครดิตที่คาดว่ าจะเกิดขึ้นประมาณจาก ค่าความน่าจะเป็นของผลขาดทุนด้านเครดิตถ่วงน�้ ำหนักตลอด ช่วงอายุที่คาดไว้ของเครื่องมือทางการเงิน โดยอ้างอิงจากมูลค่า ปัจจุบันของจ� ำนวนเงินสดที่คาดว่าจะไม่ได้รับทั้งหมด ซึ่งอ้างอิง จากข้อมูลประสบการณ์ผลขาดทุนในอดีตตามกลุ่มของสินทรัพย์ ที่ราชธานีลิสซิ่งพิจารณาว่าความเสี่ยงด้านเครดิตมีลักษณะร่วมกัน เช่น ประเภทของหลักประกัน ระยะเวลาของสัญญา และปัจจัยอื่น ที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงด้วยข้อมูลที่สังเกตในปัจจุบัน บวกกับ การพยากรณ์ในอนาคตที่สนับสนุนและมีความสมเหตุสมผล หากพิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันทางสถิติ รวมถึงการใช้ดุลยพินิจ อย่างเหมาะสมในการประมาณการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นโดยใช้ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค และท� ำการประเมิน ทั้งสถานการณ์ปัจจุบันและการพยากรณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต และความน่ าจะเป็นถ่ วงน�้ ำหนักในแต่ละสถานการณ์ (ทั้ง สถานการณ์พื้นฐาน (Base scenario) สถานการณ์ขาขึ้น (Best scenario) และสถานการณ์ขาลง (Worst scenario) มาใช้ ในการค� ำนวณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งการ น� ำข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคตมาใช้เป็นการเพิ่มระดับของการ ใช้ดุลยพินิจในการประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐศาสตร์ มหภาคที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบต่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่ 119

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3